วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

วันตรุษจีน



          วันตรุษจีน

       "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้

ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ"

 ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย


          ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่
ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้
เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน 
ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับปี 2556 นี้ วันตรุษจีนตรงกับ
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 


          ประวัติวันตรุษจีน
       เราไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร แต่เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่า
เป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหาร
และเสื้อผ้า  การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน  บ้านเรือนจะถูกทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้ายออกไป  ประตูหน้าต่างจะ
มีการขัดสีฉวีวรรณ ทาสีใหม่ ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม  ประตูหน้าต่างจะถูกประดับประดาด้วยกระดาษ
ที่มีคำอวยพร  อย่างเช่น  อยู่ดีมีสุข  ร่ำรวย  และอายุยืนเป็นต้น
          ทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า  อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ  ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน  อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข  เป๋าฮื้อแห้ง หมายถึง
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี  สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี   จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้
จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึง บรรพชนอวยพร  และเป็นธรรมดา
เสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป  และการใส่สีดำหรือขาว
เป็นสิ่งต้องห้าม  ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์  หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกัน
จนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้
จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง


           เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง 
เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ  และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง  หลังจากนั้นทุกคน
ในครอบครัวต่างออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่  เริ่มจากญาติๆ  แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน 
ในวันตรุษนี้  อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ  การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ 
ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ  ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน 
จะมีแตกต่างกันออกไป  แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน


           ตรุษจีนในประเทศไทย
       ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่
            วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก
            คือ  วันก่อนวันสิ้นปี  เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้ายหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่หรือตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 
4 วันที่แล้ว


          

                 วันไหว้ คือ วันสิ้นปี

             จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
             ตอนเช้ามืดจะไหว้ ไป๊เล่าเอี๊ย  เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด (ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ห้าชนิด)  
เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง


           ตอนสาย จะไหว้ไป๊เป้บ๊อ  คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่  ญาติพี่น้อง ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว 
เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน  การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย อาหารคาวหวาน ( ((((((((((99999(ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ)  รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง  เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ  หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล  และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกัน
ได้มากที่สุด  จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว


               ตอนบ่าย จะไหว้ไป๊ฮ้อเฮียตี๋  เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว  เครื่องไหว้จะเป็นพวก
ขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทับเพื่อไล่
สิ่งชั่วร้ายและเป็นสิริมงคล


          

                   วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันเที่ยว หรือ วันถือ

               คือ  วันที่หนึ่งของเดือนที่หนึ่งของปี  วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติ
สืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ ไป๊เจีย คือ การไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก 
โดยนำส้มสีทองไปมอบให้  โดยจะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือ คือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดี
ต่อกัน  ไม่ทวงหนี้กัน  ไม่จับไม้กวาด  และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและ
พักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น


               อาหารไหว้เจ้า
         ในวันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี  อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง  รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว 
ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่   ถึงแม้ผักชนิดต่างๆที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงราก
หรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆมีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมัน
               เม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย


               เกาลัด - มีความหมายถึง เงิน


               สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย


               เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข


               หน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข 
เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย 
สำหรับปีใหม่  และหมายถึงการไว้ทุกข์


               อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่  เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
               ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวนมาก
ที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน




                แหล่งที่มา  http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/





          

         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น